ศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดนราธิวาส มีขนบธรรมเนียม ประเพณี
และการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญ ที่นิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
คือ
เป็นการแสดงแบบรับร้องโต้ตอบ หรือร้องเดี่ยวโดยใช้ปฎิภาณไหวพริบเช่นเดียวกับลำตัดดีเกฮูลูคณะหนึ่งจะมีลูกคู่ประมาณ 10 คน ผู้ร้องเพลงประจำคณะจะมี 2-3 คน ในขณะลูกคู่จะนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้าจังหวะดนตรี ประกอบการแสดงได้แก่ กลองรำมะนา ฆ้อง โหม่ง และลูกแซ็ก บทบาทของการแสดงดีเกร์ฮูลู นอกจากจะทำหน้าที่ เป็นสื่อให้ความบันเทิงแก่สังคมแล้ว ขนบในการแสดง และการใช้ภาษามลายูในการแสดงยังสะท้อนให้เห็นถึง เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมในแถบจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของไทย
เป็นศิลปะการแสดงทำนองเดียวกับมะโย่ง คณะมโนราห์มีจำนวนผู้แสดงไม่น้อยกว่า 10 คน คือ ทำหน้าที่เป็นตัวพระตัวนาง และตัวตลก เครื่องดนตรี มโนราห์มีกลอง ฆ้อง โหม่ง ไม้แตระ ไม้กรับ แต่ปัจจุบันผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล เช่น กีต้าร์ กลองชุด เช่น มีการแสดงปีละ 1 ครั้ง ในเดือน 6 โดยแสดงหน้าวัดทุ่งคา เป็นมโนราห์ที่ขับ 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษามลายูท้องถิ่น
งานประเพณีแข่งเรือกอและ
งานประเพณีแข่งเรือกอและปัจจุบันเรือกอและเป็นเรือที่มีลวดลายสีสันสวยงาม
ซึ่งจัดการแข่งเรือกอและ
เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ
งานแห่เจ้าแม่โต๊ะโมะเป็นเทศกาลสำคัญของอำเภอสุไหงโก-ลก
จัดปลายเดือนเมษายนในเขตเทศบาลในงานประกอบด้วยขบวนแห่ภาคพิธีกรรม และภาคมหรสพเช่น
การแห่ขบวนสิงโต
วันลองกอง
วันลองกองเป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดนราธิวาสที่จัดขึ้นในช่วงใกล้เคียงกับการแข่งเรือกอและโดยจัดขึ้นที่บริเวณศาลาประชาคมจังหวัดนราธิวาส
เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการปลูกลองกองอันเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดนราธิวาส
ซีละ
เป็นศิลปะการป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิมเป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าคล้ายกังฟู
หรือมวยไทย
การแสดงซีละเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูเล่นทำปากขมุบขมิบเป็นการเสกคาถาดังนี้
"ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน
ขอให้ผู้ชมนิยมศรัทธา" การแสดงซีละแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซีละยาโต๊ะ (ตก) ซีละ
(รำ)
ดีเกฮูลู
เป็นการแสดงแบบรับร้องโต้ตอบ หรือร้องเดี่ยวโดยใช้ปฎิภาณไหวพริบเช่นเดียวกับลำตัดดีเกฮูลูคณะหนึ่งจะมีลูกคู่ประมาณ 10 คน ผู้ร้องเพลงประจำคณะจะมี 2-3 คน ในขณะลูกคู่จะนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้าจังหวะดนตรี ประกอบการแสดงได้แก่ กลองรำมะนา ฆ้อง โหม่ง และลูกแซ็ก บทบาทของการแสดงดีเกร์ฮูลู นอกจากจะทำหน้าที่ เป็นสื่อให้ความบันเทิงแก่สังคมแล้ว ขนบในการแสดง และการใช้ภาษามลายูในการแสดงยังสะท้อนให้เห็นถึง เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมในแถบจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของไทย
มโนราห์
เป็นศิลปะการแสดงทำนองเดียวกับมะโย่ง คณะมโนราห์มีจำนวนผู้แสดงไม่น้อยกว่า 10 คน คือ ทำหน้าที่เป็นตัวพระตัวนาง และตัวตลก เครื่องดนตรี มโนราห์มีกลอง ฆ้อง โหม่ง ไม้แตระ ไม้กรับ แต่ปัจจุบันผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล เช่น กีต้าร์ กลองชุด เช่น มีการแสดงปีละ 1 ครั้ง ในเดือน 6 โดยแสดงหน้าวัดทุ่งคา เป็นมโนราห์ที่ขับ 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษามลายูท้องถิ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น