ของดีประจำจังหวัดนราธิวาส
ผ้าบาติก
ผ้าบาติก คำว่า บาติก เป็นภาษาชวา ใช้เรียกผ้าย้อมสีชนิดหนึ่งที่รวมเอาศิลปะทางด้านฝีมือ
และเทคนิคการย้อมสีเข้าด้วยกัน
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีการทำผ้าบาติกมาใช้กันมาประมาณ 2,000
ปีมาแล้วการทำผ้าเป็นศิลปหัตถรรมที่น่าสนใจ หลักการทำผ้าบาติกอาศัยเทคนิคง่ายๆ คือ
“
การวันสีด้วยเทียน ” โดยใช้ “ วันติ้ง ” เป็นเครื่องมือที่จุ่มเทียนไขเหลวเพื่อวาดลวดลายลงบนผืนผ้าก่อนลงสีในส่วน
ที่ไม่ต้องการให้ติดสีที่ย้อม เมื่อนำไปย้อมสี
สีก็จะติดเฉพาะส่วนที่ไม่ลงเทียนไว้และจะติดซึมไปตามรอยแตกของเทียนเกิดลวด
ลายสวยงามแปลกตาอันเป็นสัญลักษณ์ของผ้า ปัจจุบันการทำผ้านิยมใช้วิธีพิมพ์ลายผ้ามากกกว่าวิธีเขียนลายด้วยมือเพราะ
เร็วและสะดวกกว่า ผ้าบาติกนี้นอกจากส่งขายตามเมืองท่องเที่ยวใหญ่ ๆ ในไทยแล้ว
ยังส่งออกไปขายในมาเลเซียด้วย
ปลากุเลาเค็ม
ปลากุเลาเค็ม
เป็นอาหารและสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส คนตากใบมักจะพูดเล่นๆ
กันว่า เป็นปลาที่ “คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน” เนื่องด้วยปลากุเลาเค็มมีราคาแพง
จึงมักจะถูกซื้อหาไปเป็นของกำนัลผู้หลักผู้ใหญ่
หรือผู้บังคับบัญชามากกว่าที่จะซื้อหามาทานเอง
ขนาดราคาแพงเวลาจะซื้อต้องจองกันเลยทีเดียว ปลากุเลาเป็นปลาเนื้อละเอียด เมื่อนำมาทำเค็มจะอร่อยมาก
ดังนั้นปลากุเลาเค็มจึงได้ชื่อว่า "ราชาแห่งปลาเค็ม"
สะตอหรือลูกตอ
เป็นผลิตผลจากพืชเศรษฐกิจ
ของภาคใต้มีลักษณะเป็นฝักแต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ถี่เรียงกันยาวไปตามฝัก
กลุ่มของเมล็ดฉุนและอมหวาน เป็นที่นิยมของผู้บริโภค สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง
เช่น แกงกะทิ ต้มกะทิ ผัดเผ็ด ผัดจืด (ใส่กะปินิดหน่อย) นอกจากนี้ยังใช้ต้ม
เผาหรือรับประทานดิบ ๆ กับน้ำพริก, แกงเผ็ด
ทุกชนิด และขนมจีน ส่วนสะตอดองเปรี้ยวสามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นแรมปี
บูดู
บูดูเป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคใต้
ได้มาจากการหมักปลากับเกลือเช่นเดียวกับการหมักน้ำปลา บูดูเป็นอาหารคาว มี ๒ ชนิด
คือ บูดูแบบเค็ม สำหรับปรุงแล้วใช้ผักสดจิ้มรับประทานกับข้าวสวย และบูดูแบบหวาน
ที่เรียกว่า “ น้ำเคย ” ใช้สำหรับคลุกกับยำปักษ์ใต้
บูดูทั้ง ๒ ชนิดนี้ ได้จากการหมักปลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น